วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา (The   Threefold Training)

คือการศึกษา
 ทั้ง ๓ มีหัวข้อตามหลักดังนี้ 

       ๑. อธิศีลศิกขา   การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา  และอาชีพ  ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล  (Training in Higher Morality)
       ๒. อธิจิตตสิกขา  การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher  Mentality   หรือ Concentration)
       ๓. อธิจิตปัญญาสิกขา  การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป  ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง  (Training in Higher Wisdom)

ไตรสิกขานี้  เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป  ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์  ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ ๓  อย่าง ) คือ
       ๑.  สพพปาปสส  อกรณ         การไม่ทำความชั่วทั้งปวง   ( ศีล )
       ๒.  กุสลสสูปสมปทา             การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )
       ๓.  สจิตตปริโยทปน              การทำจิตของตนให้ผ่องใส  (ปัญญา )
องค์ประกอบทั้ง  ๘ ของมรรค  จัดปรับเข้าระบบการศึกษาที่ครบองค์ ๓  ของไตรสิกขา
ไตริกขานี้  เรียกว่าเป็น  “พหุลธัมมีกถา”  คือคำสอนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบ่อย  และมีพุทธพจน์แสดงต่อเนื่องกันของกระบวนการสึกษาฝึกอบรมที่เรียกว่าไตรสิกขา ดังนี้

            “ ศีลเป็นอย่างนี้  สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้  สมาธิทำศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก  ปัญยาที่สมาธิบ่มแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก  จิตที่ปัญยาบ่มแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง คือ จากกมามสวะ  ภวาสวะ และอวิชาชาสวะ
 
            ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้  มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน  กล่าวคือ
(ศีล -> สมาธิ ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม  ได้ทำประโยขน์อย่างยน้อยดำเนินชีวิตดดยสุจริต  มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึกไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งว่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอกโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด  คำทีพูดและการที่ทำ

( สมาธิ -> ปัญญา )  ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน  สงบ อยู่กับตัว   ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง  แล่น  คล่อง  เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น

            อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย  ไม่ไปแกล้งลสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน  คน พัด หรือเขย่า  สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆก้นอนก้น  หายขุ่น  น้ำก็ใส (สมาธิ)  เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน ( ปัญญา )

            ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป  ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห้นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้  ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น  ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป
 

            ( พุทธธรรม  พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต )

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=buddha_44

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น