วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เวสารัชชธรรม

 
เวสารัชชธรรม แปลว่า ความแกล้วกล้า 
        จากการค้นหาพบว่ามี  2 ความหมายใหญ่ๆ คือ

                1.  เวสารัชชธรรม หรือ เวสารัชชญาณ อันเป็นญาณ หรือธรรมของพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทำให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.
                2.  เวสารัชชกรณธรรม ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการ

        จึงนำมาแสดง ดังนี้

เวสารัชชสูตร

        [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร  เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้
        ๔ ประการเป็นไฉน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ยังไม่ตรัสรู้แล้ว
        เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว
        เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่า ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
        เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม
        เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้แล ฯ

                วาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เขาตระเตรียมไว้มาก และ
                สมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัยวาทะใด วาทะเหล่านั้นมาถึง
                พระตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะเสียได้ ย่อมหายไป
                ผู้ใดครอบงำธรรมจักรอันเป็นโลกุตตรประกาศแล้ว มีปรกติ
                อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการผู้เช่นนั้น
                ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ฯ

จบสูตรที่ ๘
----------------------------------------------

        เนื้อความบางส่วน ใน มหาสีหนาทสูตร   ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท

เวสารัชชธรรม ๔

        [๑๖๗] ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความแกล้วกล้า] เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป  เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ
        ๔ ประการเป็นไฉน

        ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้
        ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่

        ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้
        ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่

        ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้
        ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่

        ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม ดังนี้
        ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่

        ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล

        ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง
        ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้
        ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด
        ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.

--------------------------
  
เวสารัชชกรณสูตร

        [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้
        ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ๑
                เป็นผู้มีศีล ๑
                เป็นพหูสูต ๑
                เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
                เป็นผู้มีปัญญา ๑

        ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา
        ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

        ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ทุศีล ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้มีศีล
        ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

        ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้เป็นพหูสูต
        ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

        ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภความเพียร
        ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

        ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา
        ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑
----------------------------------------------

ที่มา และแนะนำ :-
        พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
        อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
        เวสารัชชสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=178&Z=207

        พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
        มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
        มหาสีหนาทสูตร
        ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
        ช่วงประมาณ ข้อ  [๑๖๗]

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=2296&Z=2783

        พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
        อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
        ตติยปัณณาสก์  ผาสุวิหารวรรคที่ ๑
        เวสารัชชกรณสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2923&Z=2941

        ความหมายคำว่า  เวสารัชช  จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก
http://dharma.school.net.th/cgi-bin/dict.pl?word=เวสารัชช&detail=ON

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น