วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สาราณียธรรม 6 การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

สาราณียธรรม 6
สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ถือว่าเป็นธรรมที่เป็นพลังในการสร้างควาสามัคคี มีอยู่ 6 ข้อ คือ 
1.  กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น  
2.  วจีกรรม  อันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
3.  มโนกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม 
4.  สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน  
5.  สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตนมีความประพฤติสุจริตปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  
6.  ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ 
ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน  อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป

แหล่งอ้างอิง
จรัส พยัคฆราชศํกดิ์และกวี อิศริวรรณ. สาระการเรียนรู้พื้นฐาน พระพุทธศาสนา พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2548

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักความเชื่อ กาลามสูตร
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifกาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10.                        อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifสูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
ตัวอย่าง
1.     อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
2.     อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
3.     อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
4.     อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
5.     อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
6.     อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
7.     อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
8.     อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9.     อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
10.                        อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 232
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 13
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
พระพุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547 หน้า 15-17
คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifคำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gif
คิดอย่างเป็นระบบ และ เทคนิคการแก้ปัญหา ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ สำนักพิมพ์ อริยชน จำกัด หน้า 190-191

คำอธิบาย: http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/images/spacer.gifโปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิงครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อริยทรัพย์ ๗


สัตตกะ
อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อว่า อปรหานิยธรรม มี ๗ อย่าง
๑.   หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒.    เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓.    ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔.    ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕.    ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖.   ยินดีในเสนาสนะป่า
๗.  ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
       ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว
อริยทรัพย์ ๗ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีอยู่ในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ
๑.  สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒.  สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓.  หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
๔.  โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป
๕.  พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือ จำทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก
๖.  จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนให้แก่คนที่ควรให้ปัน
๗.  ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
สัปปุริสธรรม ๗ อย่างธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม มี ๗ อย่าง
๑.  ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
๒.  อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันใด ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันใด
๓.  อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติตระกูล ยศศักดิ์สมบัติบริวารความรู้และคุณธรรมเพียงเท่านี้ๆ แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร
๔.  มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิต แต่โดยทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร
๕.  กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้นๆ
๖.  ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกริยาที่ต้องประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่าหมู่นี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกริยาอย่างนี้ จะต้องพูดแบบนี้ เป็นต้น
๗.  ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้เป็นผู้ดี ควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ เป็นต้น
สัปปุริสธรรมอีก ๗ อย่าง๑.   สัตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ มีศรัทธา มีความละอายต่อบาป มีความกลัวบาป เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นคนมีความเพียร เป็นคนมีสติมั่นคง เป็นคนมีปัญญา
๒.   จะปรึกษาสิ่งใดกับใครๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๓.   จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๔.   จะพูดสิ่งใดก็พูดเพื่อไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น
๕.   จะทำสิ่งใดก็ไม่ทำเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๖.  มีความเห็นชอบ มีเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
๗.  ให้ทานโดยเคารพ คือเอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวเองให้ และผู้รับทานนั้น ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย

โพชฌงค์ ๗๑.  สติ ความระลึกได้
๒.  ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม
๓.  วิริยะ ความเพียร
๔.  ปีติ ความอิ่มใจ
๕.  ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์
๖.  สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๗.  อุเปกขา ความวางเฉย
เรียกตามประเภทว่า สติสัมโพชฌงค์ไปโดยลำดับจนถึงอุเปกขาสัมโพชฌงค์

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/06/23/entry-6

ความกตัญญู

ความกตัญญู

 
ความกตัญญู
พระพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี 
คนดีย่อมเป็นที่ปราถนาที่ต้องการในที่ทุกหนทุกแห่งในทุกกิจการ และใน
ทุกยุคทุกสมัย คนดีทำให้ครอบครัวเจริญ โรงเรียนเจริญ ชุมชนเจริญ สังคมและประเทศชาติเจริญ คนดีอยู่ใน
ครอบครัวใด โรงเรียนใดและสังคมใด ครอบครัว โรงเรียน และสังคมนั้นๆ ย่อมมีความสุข ความกตัญญู คือ คุณสมบัติและสัญลักษณ์ของคนดี กตัญญูกับกตเวทีรวมเป็นกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมคู่กันเสมอ เป็นหลักถือปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดี หรือคนในอุดมคตินั่นเอง ในสังคมชาวพุทธ คนมีกตัญญูกตเวทีย่อมเป็น
ผู้ควรค่าแก่ความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะได้ปฏิบัติธรรมอันถือเป็นมงคลยิ่ง
ข้อหนึ่ง คือ ความกตัญญู บุคคลย่อมมีชีวิตประสบแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง
ความคิดและความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยนั้น สรรเสริญผู้มีความกตัญญูและตำหนิผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นเป็นอย่างมาก คนไทยมีความเชื่อว่าผู้ที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ จะมีความเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนผู้ที่เนรคุณนั้นจะประสบความวิบัติเป็นที่รังเกียจในสังคม ได้มีการเปรียบเทียบว่า คนที่เนรคุณนั้น
เป็นคนไร้ค่ามีจิตใจกระด้างดังเนื้อหิน เขาจะกรุณาคนอื่นได้อย่างไรในเมื่อคนที่มีบุญคุณต่อเขา ยังทำให้เขา
สำนึกไม่ได้
กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ 25 ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตาม
ตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่าา "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคน
หรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้
กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน

ทิศหก

ทิศหก

 ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา : (หัวข้อ)
มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความด
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. หาคู่ครองที่สมควรให้
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
๒. ช่วยทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน

๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : (หัวข้อ)
ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้
๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปหา
๓. ใฝ่ใจเรียน
๔. ปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา : (หัวข้อ)
สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้
ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่นอกใจ
๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส
๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓. ไม่นอกใจ
๔. รักษาสมบัติที่หามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : (หัวข้อ)
พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้
มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ : (หัวข้อ)
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้
พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง : (หัวข้อ)
นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้
ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยาม
เจ็บไข้ เป็นต้น
๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
๑. เริ่มทำงานก่อน
๒. เลิกงานทีหลัง
๓.เอาแต่ของที่นายให้
๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่
     

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

 
..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา
 ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....
 .สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ).....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
 สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
 .สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
 .สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
 .สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ .....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
 ....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก".....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า 

โลกธรรม 8

โลกธรรม 8

 ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ
1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ
2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ